8 พฤษภาคม 2556

ยี่เป็ง งานประเพณีอันยิ่งใหญ่ ท่องเที่ยวเชียงใหม่


ยี่เป็ง งานประเพณีอันยิ่งใหญ่ ท่องเที่ยวเชียงใหม่


ยี่เป็ง เป็นงานประเพณี อันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาลหรือวันเพ็ญ เดือนยี่ของชาว ล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 ของภาคกลาง อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศ ปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ธรรมเนียม ปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวง สวรรค์ หรือบ้างก็เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์ ให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต
ประเพณียี่เป็ง

ภาพการปล่อยโคมลอย

ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึง หมายถึงประเพณี พระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับ มายัง บ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึง วันที่ จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ ในงานบุญ ยี่เป็ง ยังมีการเทศน์มหาชาติ ผู้คนจะออกมาตกแต่งบ้านเรือน วัดวาอาราม และถนนหนทาง ด้วยต้นกล้วย อ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุงช่อประทีปและชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา ยามค่ำคืน จะมีการจุดโคมลอย ปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์ จุดเด่นของงานนี้อยู่ที่การปล่อย โคมลอย ขึ้นไปในท้องฟ้า โดยเชื่อกันว่า เปลวไฟในโคมเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ และแสงสว่างที่ได้รับจากโคม จะส่งผลให้ ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้อง การจุดโคมลอยมี 2 แบบ คือแบบที่ใช้ปล่อยใน


ภาพการปล่อยโคมลอย เที่ยวเชียงใหม่


ประเพณียี่เปงจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 13 ค่ำ ซึ่งถือว่าเป็น "วันดา" หรือวันจ่ายของเตรียมไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด ครั้น ถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พ่ออุ้ยแม่อุ้ยและผู้มีศรัทธาก็จะพากันไปถือศีล ฟังธรรม และทำบุญเลี้ยงพระที่วัด มีการทำ กระทงขนาด ใหญ่ตั้งไว้ที่ลานวัด ในกระทงนั้นจะใส่ของกินของใช้ ใครจะเอาของมาร่วมสมทบด้วยก็ได้เพื่อเป็น ทานแก่คนยากจน ครั้นถึงวันขึ้น 15 ค่ำ จึงนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็ก ๆ ของส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ ในงาน บุญยี่เป็งนอกจากจะมีการปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์มหาชาติตามวัดวาอารามต่าง ๆ แล้ว ยังมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน และถนนหนทางด้วย ต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็ง แบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา พอตกกลางคืนก็จะมีมหรสพและ การละเล่นมากมาย มีการแห่โคมทอง พร้อมกับมีการจุดถ้วย ประทีป (การจุดผางปะติ๊ด)เพื่อบูชาพระรัตนตรัยการจุดบอกไฟ การจุดโคมไฟประดับตกแต่งตาม วัดวาอาราม และการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสท้องฟ้าเพื่อเพื่อบูชาพระเกตุ แก้ว จุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ความเชื่อ การปล่อยว่าวไฟหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมักมีความเชื่อกันว่า เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ ร้ายภัยพิบัติต่างๆออก ไป จาก หมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปถ้าไปตกในบ้าน ใครบ้าน นั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็น การทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีกันใน หมู่บ้าน อีกด้วย


ติดตามเรื่องราวจังหวัดเชียงใหม่ได้ที่ : http://travel.sanook.com/thailand/chiangmai/
เรียบเรียง : http://chiangmainice.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น